TCP/IP (Transfer Control Protocol/Internet Protocol)





TCP/IP

(Transfer Control Protocol/Internet Protocol)

      

  TCP/IP ย่อมาจาก Tranmission Control Protocol / Internet Protocol

โปรโตคอล TCP/IP เป็นชุดของโปรโตคอลที่มีการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 โดยมีวัตถุประสงค์ให้สามารถสื่อสารจากต้นทางข้ามเน็ตเวิร์คไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัติโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจผ่านเน็ตเวิร์คที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางจนได้ ในระยะเริ่มต้นโปรโตคอลนี้ใช้กันในวงการแคบๆ เฉพาะราชการและสถานศึกษาของอเมริกา จนในช่วงปี 90 จึงมีการนำมาใช้ในทางธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

      การแบ่งชั้น (Layering)


TCP/IP เป็นชุดของโปรโตคอลที่ประกอบไปด้วยโปรโตคอลย่อยหลายตัว

แต่ละตัวจะทำหน้าที่ในแต่ละชั้นหรือเลเยอร์ (layer) ซึ่งรับผิดชอบและแปลความหมายของข้อมูลในแต่ละระดับของการสื่อสาร

        ในภาพรวม TCP/IP แบ่งออกเป็น 4 เลเยอร์ ดังนี้  





หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละเลเยอร์

   1. Link Layer ในเลเยอร์นี้จะเป็นดีไวซ์ไดรเวอร์ที่ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการแต่ละระบบทำหน้าที่รับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ระดับกายภาพ สัญญาณไฟฟ้า จนถึงการแปลความจากระดับสัญญาณไฟฟ้าจนเป็นข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ โปรโตคอลระดับนี้ เช่น Ethernet และ SLIP 
(Serial Line Internet Protocol)
  2. Network Layer  รับผิดชอบในการรับ ส่ง ข้อมูลเน็ตเวิร์ค ส่งต่อข้อมูลไปจนถีงจุดหมายปลายทาง โปรโตคอลระดับนี้ ได้แก่  IP ICMP IGMP
  3. Transport Layer รับผิดชอบในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องหนึ่ง(Host)ไปยังอีกโฮสท์หนึ่ง และจะส่งข้อมูลขึ้นไปให้Application Layer นำไปใช้งานต่อ มีโปรโตคอลที่จัดอยู่ในเลเยอร์นี้คือ TCP และ UDP ซึ่งมีลักษณะในการรับส่งข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป
  4. Application Layer เป็นเลเยอร์ที่เป็นแอพลิเคชั่นเรียกใช้โปรโตคอลระดับล่างๆลงไป เพื่อวัตถุประสงค์แตกต่างกัน

SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)  ใช้รับส่งจดหมายอิเลคโทรนิคส์ระหว่างโฮสต์
Telnet ใช้สำหรับการควบคุมเครื่องระยะไกล
HTTP (Hypertext Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลเว็ฟเพจระหว่างบราวเซอร์กับเว็ฟ เซิร์ฟเวอร์
POP (Post Office Protocol)ใช้สำหรับดาวน์โหลดอีเมล์จากเมล์เซิร์ฟเวอร์มาไว้ที่เครื่องเมล์ไคลเอนด์ (PC) ของผู้ใช้

IP : Internet Protocol

     IP เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่รับภาระในการนำข้อมูลไปส่งยังจุดหมายปลายทางไม่ว่าที่ใดๆในอินเตอร์เน็ต โปรโตคอลต่างๆใน TCP/IP Suit ทั้ง TCP ,UDP, ICMP ต่างก็อาศัยระบบนี้ทั้งสิ้น เนื่องจากตัวโปรโตคอล IP นี้มีกลไกที่ค่อนข้างฉลาดในการหาเส้นทาง ขนส่งข้อมูล รู้จักที่จะซอกแซกหาช่องทางไปยังจุดหมายทุกทางที่เป็นไปได้ โปรโตคอลอื่นที่อยู่เลเยอร์สูงขึ้นไปเลยไม่ต้องรับภาระปวดหัวในการหาวิธีส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอีก ขอแค่เพียงเตรียมข้อมูลให้เสร็จสรรพแล้วส่งให้ IP ก็นอนใจได้ว่า IP จะพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะหาทางไปให้ถึงจุดหมายให้จงได้

      ถึงแม้ว่า IP จะเป็นโปรโตคอลที่เชี่ยวชาญในการขนส่งข้อมูลไปได้ไกลๆ แต่ก็มีจุดด้อยคือ IP เป็นโปรโตคอลที่ Unreliable และ connectionless (เปรียบเสมือนเป็นระบบขนส่งที่ชำนาญรวดเร็วแต่ไม่รับประกันว่าข้อมูลจะถึงปลายทางหรือไม่) การที่ IP มีข้อด้อย 2 ประการนี้ ดังนั้น โปรโตคอลเลเยอร์อื่นที่ใช้ IP เป็นตัวส่งข้อมูลที่จำเป็นต้องหาหนทางในการลดข้อด้อยเหล่านี้ลงไป เพื่อให้การรับส่งข้อมูลมีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ ซึ่งก็คือจะต้องมีกลไกในการรับประกันการรับส่งข้อมูลอีกชั้นนั่นเอง การส่งข้อมูลด้วย IP เปรียบเสมือนการส่งจดหมาย ทั่วไปที่เราจ่าหน้าซองเรียบร้อย ติดแสตมป์แล้วนำไปหย่อนลงตู้ไปรษณีย์ โดยส่วนใหญ่แล้วบุรุษไปรษณีย์นี้ก็จะทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอคือ นำจดหมายไปที่บ้านเลขที่ตามจ่าหน้าซอง แล้วก็หย่อนลงไปในตู้รับจดหมายของผู้รับซึ่งจะเห็นว่า ด้วยการทำงานปกติจดหมายน่าจะถึงปลายทางเสมอ แต่โอกาสที่จะเกิดอุปสรรคทำให้จดหมายไม่ถึงปลายทางก็เป็นไปได้

       หมายเลข IP หรือบางทีเรียกว่าแอดเดรส IP นั้นถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิตใน 1 ชุดจะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆกัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละชุดด้วยจุดดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28-1 =255 เท่านั้นเช่น192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดให้เป็นตัวเลขรวมได้ทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจาก 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆหากแต่จะมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นหมายเลขของเครือข่าย (Network Number) ส่วนที่สองเรียกว่า หมายเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายนั้น(Host Number) เพราะเครือข่ายใดๆอาจจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออยู่ได้มากมาย ในเครือข่ายที่อยู่คนละระบบอาจมีหมายเลขโฮสต์ซ้ำกันก็ได้แต่เมื่อรวมกับหมายเลข Network แล้วจะได้เป็น IP Address ที่ไม่ซ้ำกันเลย


แหล่งที่มา
https://finance.kku.ac.th/pic/2gfmis/tcp-ip.ppt




ความคิดเห็น

  1. Network Layer มีโปรโตคอลอะไรบ้างที่ใช้ในการหาเส้นทางส่งข้อมูล?
    เข้าถึง Telkom University Jakarta

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Point-to-Point Protocol

NetBEUI

NNP